แผ่นพื้นสำเร็จรูป หรือแผ่นพื้นคอนกรีต (Concrete Slabs) เป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน หรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น สะพาน เป็นต้น ช่วยประหยัดต้นทุนด้านโครงสร้าง ลดเวลาในการก่อสร้าง แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็มีหลายแบบ หลายชนิด ซึ่งในแต่ละประเภทก็ใช้งานแตกต่างกัน วันนี้ทาง แสนพันวา จะมาเจาะลักษณะการใช้งานของแผ่นพื้นคอนกรีตในแต่ละประเภทให้พี่ ๆ ในวงการได้ทราบกันครับ
แผ่นพื้นสําเร็จรูป มีกี่แบบ
1. แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน หรือแบบอัดแรงท้องเรียบ (Plank Panel) คือ แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบเหมือนกับไม้กระดาน ผลิตขึ้นโดยหล่อให้พื้นท้องเรียบเสมอกัน ใช้งานสะดวกและขนย้ายได้ง่าย จึงนิยมใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยทั่วไป แต่เนื่องจากลักษณะที่เป็นแผ่นเรียบ ทำให้ต้องใช้ไม้ค้ำช่วยพยุง เพื่อป้องกันแผ่นพื้นเสียหายระหว่างขนส่ง
แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบตัน แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดไม้กระดาน (Solid plank section concrete slabs) เนื่องจากมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับไม้กระดาน เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัยทั่วไป (ขนาดเล็ก-กลาง) ซึ่งเป็นประเภทที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หาย เนื่องจากผลิตง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์เครื่องจักรขนย้ายได้สะดวก เพราะมีพื้นท้องที่เรียบสม่ำเสมอกัน แต่ระหว่างการก่อสร้างต้องใช้ไม้หรือเสาค้ำยันช่วยพยุงด้วยทุก ๆ 5 เมตร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างเคลื่อนย้าย
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดตัวทีคู่ (Double T section concrete slabs) มีลักษณะเหมือนตัวทีคู่ที่นำมาวางเรียงต่อกัน โดยจะมีปีกสองข้างที่ยื่นออกมา พร้อมกับมีคานสองตัวเพื่อเป็นที่รับน้ำหนัก ซึ่งเหมาะสำหรับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีช่วงก่อสร้างที่ยาว และไม่ต้องใช้เสาไม้ค้ำยัน เช่น เขื่อน หรือสะพาน แต่ต้องเสริมคอนกรีตเพิ่มในด้านหัวและท้ายของแต่ละแผ่นเพื่อทำให้เครื่องจักรสามารถขนย้ายได้
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดตัวยู (U channel section concrete slabs) มีลักษณะรูปร่างคล้ายตัวยู เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างช่วงยาวเช่นเดียวกับแผ่นพื้นคอนกรีต ชนิดตัวทีคู่ ทำให้ต้องมีการเสริมคอนกรีตในช่วงหัวและท้ายแผ่นเพื่อให้เครื่องจักร์ขนาดใหญ่สามารถขนย้ายได้สะดวก
2. แผ่นพื้นคอนกรีตแบบสามขา
มีลักษณะการใช้งาน และคุณสมบัติเหมือนกันแผ่นพื้นคอนกรีต แบบตัน ชนิดไม้กระดาน แต่จะต่างกันต้องที่ขนาดความหนาของแผ่น คือ 7 เซนติเมตร (แผ่นพื้นคอนกรีต แบบไม้กระดาน หนาเพียง 5 เซนติเมตร) และลีกษณะใต้ท้องจะมีขาเสริมทั้งหมด 3 จุด ถึงแผ่นพื้นคอนกรีต ชนิดสามขาจะมีความหนากว่า แต่น้ำหนักของตัวแผ่นจะไม่ต่างกันเท่าไรนัก เนื่องจากขาที่เพิ่มออกมีการออกแบบในลักษณะเว้า จึงช่วยลดน้ำหนักในส่วนนี้ลงได้ ทำให้สามารถเพิ่มขนาดแผ่นพื้นคอนกรีตให้ยาวขึ้นโดยตัวแผ่นไม่แอ่นตัว รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยันในการติดตั้ง ส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลงไปได้
3. แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง (Hollow Core)
ผลิตโดยการใช้คอนกรีตแห้ง มีลักษณะเบาแต่แข็งแรง ทำให้สะดวกในการใช้งานและติดตั้ง ช่วยให้งานก่อสร้างประหยัดต้นทุนด้านโครงสร้างได้มาก โดยส่วนใหญ่แล้ว แผ่นพื้นคอนกรีต ชนิดกลวงหรือ Hollow Core เหมาะสำหรับการใช้งานการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกสำนักงาน คอนโดมิเนียม อาคารจอดรถ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม โดยขนาดของแผ่นพื้นคอนกรีตชนิดกลวงจะมีความยาวกว่าแผ่นพื้นท้องเรียบทั่วไป ซึ่งบางแผ่นอาจจะยาวถึง 12 เมตรเลยทีเดียว รวมถึงความหนาและความกว้างที่มีความแตกต่างกันตามการใช้งาน นอกจากนี้ราคาแผ่นพื้นคอนกรีตชนิดกลวง ก็ขึ้นอยู่กับความหนาและกว้างด้วยเช่นกัน
หลังจากนี้ทาง แสนพันวา เชื่อว่าพี่ ๆ ในวงการก่อสร้าง ที่ได้อ่านบทความนี้จะรู้จักประเภทของแผ่นพื้นคอนกรีต กันมากกว่าเดิม และหวังว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในการประสานงานกับหน้างานและซัพพลายเออร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ
หลังจากนี้ทาง แสนพันวา เชื่อว่าพี่ ๆ ในวงการก่อสร้าง ที่ได้อ่านบทความนี้จะรู้จักประเภทของแผ่นพื้นคอนกรีต กันมากกว่าเดิม และหวังว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในการประสานงานกับหน้างานและซัพพลายเออร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ